ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: กัดดาฟี'ตายแล้วหลังถูกยิงเจ็บสาหัสในเมืองเกิด
Anonymous

Date:
กัดดาฟี'ตายแล้วหลังถูกยิงเจ็บสาหัสในเมืองเกิด
Permalink   
 


กัดดาฟี'ตายแล้วหลังถูกยิงเจ็บสาหัสในเมืองเกิด

554000014213901.JPEG
ภาพที่ถ่ายด้วยกล้อง โทรศัพท์มือถือเมื่อวานนี้(20) แสดงให้เห็นบุคคลที่สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติของลิเบีย (เอ็นทีซี) ซึ่งเป็นรัฐบาลรักษาการของลิเบีย ระบุว่าคือ พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ที่ได้รับบาดเจ็บและถูกจับตัวได้ ในเมืองเซิร์ต เวลาต่อมาเอ็นทีซีแถลงว่าอดีตผู้นำเผด็จการผู้นี้เสียชีวิตแล้ว
blank.gif

       เอเจนซี /เอเอฟพี - สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติของลิเบีย (เอ็นทีซี) ซึ่งเป็นรัฐบาลรักษาการ แถลงวันพฤหัสบดี (20) ว่า อดีตผู้นำ พันเอก มูอัมมาร์ กัดดาฟี ได้เสียชีวิตแล้ว หลังถูกยิงบาดเจ็บสาหัสในระหว่างปฏิบัติการสู้รบในเมืองเซิร์ต บ้านเกิดและฐานที่มั่นสุดท้ายของกัดดาฟี อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ยังไม่ยืนยันข้อเท็จจริงว่า กัดดาฟีได้เสียชีวิตหรือถูกจับตัวหรือไม่
       
       เจ้าหน้าที่เอ็นทีซี ประกาศว่า นักรบของพวกเขาสามารถจับตัวกัดดาฟีได้ในระหว่างการสู้รบที่เมืองเซิร์ต ในขณะที่เขากำลังหลบหนี ทว่าจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง พวกเขาก็ออกคำแถลงอีกฉบับว่า กัดดาฟีได้เสียชีวิตลงแล้วหลังได้รับบาดเจ็บสาหัส

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000134214



__________________
Anonymous

Date:
RE: กัดดาฟี'ตายแล้วหลังถูกยิงเจ็บสาหัสในเมืองเกิด
Permalink   
 




__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ເຂົາຂ້າເບາະຫຼືຕາຍຍ້ອນບາດເຈັບໜັກ? ເບິ່ງຂ່າວຢູ່ CNN ເຂົາຈັບລາວໄດ້ແລ້ວ ແຕ່ຕໍ່ມາບໍ່ພໍ

ເຄິ່ງຊົ່ວໂມງກໍ່ໄດ້ເຫັນຂ່າວດ່ວນອອກມາລາວທ່ານກາດາຟີຕາຍແລ້ວ.

http://news.blogs.cnn.com/2011/10/20/libyan-fighters-say-they-have-captured-gadhafi/?iref=BN1&hpt=hp_t1



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ลมหายใจสุดท้ายของ “กัดดาฟี” ใครคือผู้เหนี่ยวไกสังหาร?

554000014224202.JPEG
ศพของกัดดาฟีถูกนำไปยังเมืองมิสราตา
blank.gif
blank.gif

       ทั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่ชัดเจน คือ มูอัมมาร์ กัดดาฟี ยังหายใจอยู่ ระหว่างถูกจับกุมตัว ด้วยภาพที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทั่วโลก ซึ่งเผยช่วงที่กัดดาฟีถูกลากลงมาจากรถกระบะ ก่อนที่กลุ่มนักรบจะกระชากผมของอดีตผู้นำลากไปตามพื้น
       
       “อย่าให้เขาตาย อย่าให้เขาตาย!” มีเสียงตะโกนแทรกเข้ามา ทันใดนั้นมีเสียงปืนดังขึ้น ขณะกล้องที่กำลังบันทึกภาพก็หันไปทางอื่น
       
       “กลุ่มนักรบจับเป็นกัดดาฟีได้ แต่ระหว่างการควบคุมตัว กัดดาฟีถูกซ้อมและยิงเสียชีวิต” แหล่งข่าวในสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ (เอ็นทีซี) เปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ “กัดดาฟีอาจขัดขืน” จึงถูกกลุ่มนักรบสังหาร
       
       ข้อมูลดังกล่าวขัดแย้งกับคำแถลงก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า กัดดาฟีเสียชีวิตจากการยิงปะทะระหว่างนักรบเอ็นทีซีกับกลุ่มผู้ภักดีที่ พยายามช่วยชีวิตเจ้านาย
       
       ชะตาชีวิตของกัดดาฟีช่างพลิกผัน เขาเคยเรียกกลุ่มกบฏว่า “หนูสกปรก” แต่ท้ายที่สุดเขาถูกจับกุมระหว่างซ่อนตัวอยู่ในท่อระบายน้ำที่เต็มไปด้วยขยะ และสิ่งโสโครก
       
       นักรบเอ็นทีซีในเหตุการณ์เล่าถึงลมหายใจสุดท้ายของกัดดาฟีไว้ว่า ไม่นานก่อนถึงเวลาละหมาดเช้า กัดดาฟีพร้อมทหารหลายสิบคน ตีฝ่าวงล้อมในเมืองเซิร์ต และหนีไปทางตะวันตก แต่พวกเขาก็ไปได้ไม่ไกล
       
       ฝรั่งเศสเปิดเผยว่า เครื่องบินรบนาโตสามารถโจมตีรถทหารของกัดดาฟี 2 คัน ใกล้กับเมืองเซิร์ต
       
       หลังจากนั้น มีรายงานเพิ่มเติมว่า ห่างจากเมืองเซิร์ตไปทางตะวันตก 3 กิโลเมตร มีรถกระบะติดตั้งปืนกล 15 คัน เกิดเพลิงไหม้อยู่ห่างจากถนน 20 เมตร รอบๆ บริเวณนี้เต็มไปด้วยศพของทหารประมาณ 50 ศพ
       
       “เจ้านายอยู่ที่นี่”
       
       นักรบเอ็นทีซีเล่าเหตุการณ์ต่อจากนั้นว่า กัดดาฟีพาทหารที่เหลืออยู่เพียงหยิบมือ วิ่งหนีไปซ่อนตัวอยู่ในท่อระบายน้ำ
       
       ซาเลม บาเคียร์ ผู้อยู่ในเหตุการณ์ เล่าว่า “ทหารกัดดาฟีคนหนึ่งยกปืนขึ้นเหนือหัว และตะโกนว่ายอมจำนน แต่พอผมเข้าไปใกล้ เขากลับเริ่มยิงใส่ผม” แต่จู่ๆ ทหารกัดดาฟีก็หยุดยิง “ผมคิดว่ากัดดาฟีคงสั่งให้เขาหยุด แล้วเขาก็ตะโกนมาว่า ‘เจ้านายอยู่ที่นี่ เจ้านายอยู่ที่นี่’ ... ‘เจ้านายอยู่ที่นี่ ท่านได้รับบาดเจ็บ’”
       
       “เราตรงเข้าไปลากตัวเขาออกมา กัดดาฟีมัวแต่พูดพร่ำว่า ‘เกิดอะไรขึ้น? เกิดอะไรขึ้น?’” บาเคียร์ยังยืนยันว่า ตอนถูกจับกุม กัดดาฟีถูกยิงที่ขาและหลัง
       
       ขณะที่ อุมรัน จูมา ชาวัน นักรบอีกคนหนึ่งเล่าว่า คนที่ยิงกัดดาฟี คือ คนของเขาเอง “ทหารของมูอัมมาร์ กัดดาฟี ยิงเขาที่หน้าอก”
       
       อับเดล มาจิต มเลกตา นักทหารเอ็นทีซีอีกคนหนึ่ง ระบุว่า กัดดาฟีได้รับบาดเจ็บระหว่างการยิงปะทะในเมืองเซิร์ต ขณะถูกจับกุม กัดดาฟีพูดว่า “เกิดอะไรขึ้น แกต้องการอะไร” ไม่หยุดปาก และพยายามขัดขืนการจับกุม ก่อนเสียชีวิตระหว่างถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล
       
       ส่วนมุมมองสุดท้าย นักรบเอ็นทีซีผู้ไม่ประสงค์ออกนามเล่าว่า “กัดดาฟีถูกรุมกระทืบ” และตายอย่างทุกข์ทรมาน แต่เขาย้ำว่า “นี่คือสงคราม”
       
       ทั้งนี้ ภาพจากวิดีโอที่แพร่ไปทั่วโลก กัดดาฟีในสภาพสะบักสะบอมยังคงมีชีวิตอยู่ ตอนเขาถูกดึงลงจากรถกระบะ และลากไปตามพื้นถนน มีคนตะโกนว่า “อย่าให้เขาตาย” ก่อนที่กล้องจะหันไปทางอื่น และก็มีเสียงปืนดังขึ้น
       
       หลังจากนั้น ภาพต่อมาที่ทุกคนเห็นคือร่างไร้วิญญาณของกัดดาฟีถูกยกขึ้นบนรถพยาบาล

554000014224203.JPEG
ปืนเหลี่ยมทองที่นักรบสภาถ่ายโอนอำนาจ (เอ็นทีซี) ยึดมาจากมูอัมมาร์ กัดดาฟี


__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ພວກບ້າອຳນາຕ ຕາຍບໍ່ຕ່າງຫຍັງກັບໝາຕາຍ ຄົນຕໍ່ໄປຄົງຈະເປັນ ຈູມມະລີ ກັບທອງສິງ ອຳນາຕຂອງປະຊາຊົນຢຽບຄໍ ພວກສູ

ແນ່ນອນ



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

6 ปี...สังหาร 20 ศพ นักฆ่าสองฝั่งโขง

ໃຜຢູ່ເບື້ອງຫລັງຂອງການ ສັງຫານ 20 ສົພ ?????

คดีลอบสังหารแกนนำขบวนการต่อต้านลาว (ขตล.) ในภาคอีสานของไทยเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และต่อเนื่อง หลังเกิดเหตุการณ์ พ.ท.สีสุก ไชยแสง หรือนายณรงค์ สุวรรณบุปผา วางแผนส่งกำลังพลติดอาวุธประมาณ 60 คน บุกเข้ายึดด่านวังเตา เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก ที่ตั้งอยู่ติดกับด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ช่วงเช้ามืดวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 แต่แผนการล้มเหลว ครั้งนี้ผู้ร่วมขบวนการถูกสังหารทันที 6 ศพ ส่วนอีก 29 ราย วิ่งผ่านประตูด่านเข้าไทย และถูกทางการไทยจับดำเนินคดี

นับแต่ปี 2543 เป็นต้นมา แกนนำ ขตล.กว่า 20 ราย ถูกลอบสังหารแต่ก็ไม่มีความคืบหน้ามากนัก แต่คดีสังหาร ร.อ.สุกันต์ เดชะคำภู อดีตทหารลาวแกนนำ ขตล. อายุ 46 ปี และนางจันทร เดชะคำภู อายุ 38 ปี ภรรยา ในบ้านเลขที่ 275 หมู่ 5 บ้านคันเปือย ต.คำเขื่อนแก้ว อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม รายล่าสุด ทำให้คดีสังหารแกนนำ ขตล.ที่ผ่านมา ถูกขยายผลมากขึ้น

 


เมื่อผู้ต้องหา 2 ราย ให้การรับสารภาพ อ้างว่ารับแจ้งฆ่ารายละ 1 แสนบาท จนได้ฉายาว่า "นักฆ่าสองฝั่งโขง"

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 25 พฤษภาคม พล.ต.ต.อัศวิน ขวัญเมือง รองผบช.ก.แถลงข่าวจับกุมนายอาทิตย์ หรือลม กลิ่นจันทร์ อายุ 25 ปี ชาว ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย และนายสุวัฒน์ สุทธัง ผู้ต้องคดีฆ่า ร.อ.สุกันและภรรยา เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม

รอง ผบช.ก.แถลงว่า วันที่ 11 พฤษภาคม 2549 เวลาประมาณ 23.30 น.นายอาทิตย์ร่วมกับนายสุวัฒน์และนายสมบัติ หรือแด๊ก เพิ่มปัญญา อายุ 25 ปี ฆ่านายสุกันต์ เดชะคำภู อดีตทหารลาว อายุ 46 ปี และนางจันทร เดชะคำภู อายุ 38 ปี ที่บ้านเลขที่ 275 หมู่ 5 บ้านคันเปือย ต.คำเขื่อนแก้ว อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี แต่วันรุ่งขึ้นตำรวจสามารถติดตามจับกุมนายสุวัฒน์ได้ และให้การซัดทอดว่า ร่วมกับนายอาทิตย์และนายสมบัติฆ่าอดีตทหารลาว

"ผู้ต้องหาสารภาพว่าร่วมกันสังหารคนลาว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขบวนการต่อต้านลาว หรือ ขตล.มาแล้วรวม 17 ราย ในหลายพื้นที่ได้แก่ จ.อุบลราชธานี หนองคาย อุดรธานี และเลย นอกจากนี้ยังก่อเหตุที่ จ.มุกดาหาร และนครพนม รวมทั้งสังหารนายอนุวงศ์และนางอุไรวรรณ เศรษฐาธิราช ที่ศาลาแก้วกู่ ฆ่านายคำหยาด หรือ ร.อ.คำฝู ท้องที่ อ.ภูหลวง จ.เลย ฆ่านายบุญมี นาระนาด ท้องที่ อ.เมือง จ.อุดรธานี ผู้ต้องหาทั้งสองคนได้ฉายาว่านักฆ่าสองฝั่งโขง รับเงินค่าจ้างศพละ 1 แสนบาท"

จากการสืบสวนทางลับพบว่า นายอาทิตย์เรียนจบชั้น ม.6 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.หนองคาย เมื่ออายุ 14 ปี ถูกจับกุมข้อหาฆ่าคนตายพร้อมเพื่อนคู่หู คือ นายสมบัติ หรือแด๊ก เพิ่มปัญญา ถูกส่งเข้าสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดหนองคาย 4 ปี และเมื่ออายุย่างเข้า 19 ปี ก็เข้าสู่วงจรมือปืนรับจ้าง

ย้อนเหตุการณ์ไปเมื่อปี 2543 พ.ท.สีสุก ไชยแสง หรือนายณรงค์ สุวรรณบุปผา วางแผนส่งกำลังพลติดอาวุธประมาณ 60 คน บุกเข้าไปก่อกวนรัฐบาลลาว ด้วยการเข้าบุกยึดด่านวังเตา เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก ที่ตั้งอยู่ติดกับด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี เช้ามืดวันที่ 3 กรกฎาคม แต่แผนการล้มเหลว ทำให้ผู้ร่วมขบวนการถูกสังหารทันที 6 ศพ อีก 29 ราย วิ่งผ่านประตูด่านเข้ามาประเทศไทย และถูกทางการไทยจับดำเนินคดี

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คดีสังหารแกนนำ ขตล.ก็เกิดขึ้นทุกปี ไม่เคยมีเว้นวรรค !!!

รายแรก ท้าวภูเวียง คนร้ายนั่งเรือหางยาวใช้ปืนอาก้าบุกเข้าไปสังหารในบ้านพัก ที่บ้านคันท่าแพ ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2544 ผ่านไป 1 เดือน ท้าวสง่าก็ถูกคนร้ายบุกยิงเสียชีวิต ที่บ้านเหล่าอินแปลง ต.ช่องเม็ก อ.สิรินธร และราวเดือนพฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืน 11 มม.ยิงท้าวทองเสียชีวิต ที่บ้านสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร

ปี 2545 คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงท้าวคำบอน ที่บ้านคำมันปลา อ.สิรินธร แต่ไม่เสียชีวิต หลังรักษาตัวจนหายดีก็หนีออกจากพื้นที่ และไม่ได้กลับมาอีกเลย

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2546 พ.ท.สีสุก ไชยแสง หัวหน้าขบวนการต่อต้านลาวถูกคนร้ายใช้อาวุธสงครามชนิดอาก้ายิงเสียชีวิตใน หมู่บ้านประชาสมบูรณ์ ต.นิคมลำโดมน้อย อ.สิรินธร

เดือนธันวาคม 2546 นายอุดร หรือน้อย มั่นคง พ่อค้าขายผลไม้ในตลาดสด อ.เขมราฐ ที่ดูแลการโอนเงินระหว่างประเทศข้ามฝั่งจากประเทศไทยไปที่เมืองละครเพ็ง แขวงสาละวัน ประเทศลาว ถูกอุ้มตัวข้ามฝั่งไปคุมขังในประเทศลาว และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

เดือนตุลาคม 2548 นายชูชาติ ฉิมฤทธิ์ หรือหลวงบริบูรณ์ อดีตนายทหารรัฐบาลลาวฝ่ายขวา ยศ "พ.อ." และเป็นนักเคลื่อนไหวกับ ร.อ.คำเผย สายกงจักร หลบเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและถูกคนร้ายใช้อาวุธปืน.38 ยิงเสียชีวิตในบ้านพัก ที่บ้านนาอุดม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ส่วน ร.อ.คำเผย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "นายสุพรรณ" ไม่ทราบนามสกุล

แกนนำ ขตล.รายล่าสุด คือ ร.อ.สุกัน ที่สู้รบกับรัฐบาลลาวมาตั้งแต่อายุ 14 ปี หลบเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก็ถูกฆ่าตายพร้อมนางจันทร ภรรยา ที่บ้านคำเปื่อย ต.คำเขื่อนแก้ว อ.สิรินธร

ส่วนผู้ต้องหาคดีบุกยึดด่านวังเตาที่เป็นคนลาว 16 คน ที่ถูกจับดำเนินคดีในประเทศลาว เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ศาลประชาชนแห่งแขวงจำปาสัก ตัดสินจำคุกท้าวสวง แสงสุระ นักโทษการเมืองที่ร่วมกันบุกยึดด่านวังเตาและพวกรวม 8 คน คนละ 12 ปี จำคุกท้าวคำ ไชยวงศ์ กับพวกรวม 6 คน คนละ 7 ปี และจำคุกท้าวแสง จำปา กับท้าวสม ไชยวงศ์ คนละ 2 ปี 6 เดือน

ปัจจุบันมีแกนนำ ขตล.ที่ยังเคลื่อนไหวเหลืออยู่เพียง ร.อ.คำเผย สายกงจักร เท่านั้น

คำรับสารภาพของผู้ต้องหาที่ได้ฉายาว่า "นักฆ่าสองฝั่งโขง" ในคดีฆ่าแกนนำ ขตล.รายล่าสุด เป็นเพียงคำให้การที่ตำรวจต้องหาพยานหลักฐานเพื่อประกอบสำนวนส่งฟ้องศาล แต่คำรับสารภาพของผู้ต้องหา 2 รายนี้ ก็ถูกปฏิเสธจากนายยง จันทะลังสี โฆษกกระทรวงต่างประเทศลาว ว่า ไม่เป็นความจริง เพราะลาวมีกองกำลังไว้เพื่อป้องกันประเทศ ไม่เคยเข้าแทรกแซงประเทศอื่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ลาวถือว่าเป็นเรื่องภายในของไทย แต่การจะกล่าวหาผู้ใดต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน

นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์บุกเข้ายึดด่านวังเตา เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก ล้มเหลว เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 ปรากฏว่าแกนนำขบวนการต่อต้านลาว (ขตล.) ที่ยังหลบหนีอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยถูกลอบสังหารไปแล้วกว่า 20 ศพ

คดีลอบสังหารแกนนำขบวนการต่อต้านลาว (ขตล.) ในภาคอีสานของไทยเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และต่อเนื่อง หลังเกิดเหตุการณ์ พ.ท.สีสุก ไชยแสง หรือนายณรงค์ สุวรรณบุปผา วางแผนส่งกำลังพลติดอาวุธประมาณ 60 คน บุกเข้ายึดด่านวังเตา เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก ที่ตั้งอยู่ติดกับด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ช่วงเช้ามืดวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 แต่แผนการล้มเหลว ครั้งนี้ผู้ร่วมขบวนการถูกสังหารทันที 6 ศพ ส่วนอีก 29 ราย วิ่งผ่านประตูด่านเข้าไทย และถูกทางการไทยจับดำเนินคดี

นับแต่ปี 2543 เป็นต้นมา แกนนำ ขตล.กว่า 20 ราย ถูกลอบสังหารแต่ก็ไม่มีความคืบหน้ามากนัก แต่คดีสังหาร ร.อ.สุกันต์ เดชะคำภู อดีตทหารลาวแกนนำ ขตล. อายุ 46 ปี และนางจันทร เดชะคำภู อายุ 38 ปี ภรรยา ในบ้านเลขที่ 275 หมู่ 5 บ้านคันเปือย ต.คำเขื่อนแก้ว อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม รายล่าสุด ทำให้คดีสังหารแกนนำ ขตล.ที่ผ่านมา ถูกขยายผลมากขึ้น

เมื่อผู้ต้องหา 2 ราย ให้การรับสารภาพ อ้างว่ารับแจ้งฆ่ารายละ 1 แสนบาท จนได้ฉายาว่า "นักฆ่าสองฝั่งโขง"

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 25 พฤษภาคม พล.ต.ต.อัศวิน ขวัญเมือง รองผบช.ก.แถลงข่าวจับกุมนายอาทิตย์ หรือลม กลิ่นจันทร์ อายุ 25 ปี ชาว ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย และนายสุวัฒน์ สุทธัง ผู้ต้องคดีฆ่า ร.อ.สุกันและภรรยา เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม

รอง ผบช.ก.แถลงว่า วันที่ 11 พฤษภาคม 2549 เวลาประมาณ 23.30 น.นายอาทิตย์ร่วมกับนายสุวัฒน์และนายสมบัติ หรือแด๊ก เพิ่มปัญญา อายุ 25 ปี ฆ่านายสุกันต์ เดชะคำภู อดีตทหารลาว อายุ 46 ปี และนางจันทร เดชะคำภู อายุ 38 ปี ที่บ้านเลขที่ 275 หมู่ 5 บ้านคันเปือย ต.คำเขื่อนแก้ว อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี แต่วันรุ่งขึ้นตำรวจสามารถติดตามจับกุมนายสุวัฒน์ได้ และให้การซัดทอดว่า ร่วมกับนายอาทิตย์และนายสมบัติฆ่าอดีตทหารลาว

"ผู้ต้องหาสารภาพว่าร่วมกันสังหารคนลาว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขบวนการต่อต้านลาว หรือ ขตล.มาแล้วรวม 17 ราย ในหลายพื้นที่ได้แก่ จ.อุบลราชธานี หนองคาย อุดรธานี และเลย นอกจากนี้ยังก่อเหตุที่ จ.มุกดาหาร และนครพนม รวมทั้งสังหารนายอนุวงศ์และนางอุไรวรรณ เศรษฐาธิราช ที่ศาลาแก้วกู่ ฆ่านายคำหยาด หรือ ร.อ.คำฝู ท้องที่ อ.ภูหลวง จ.เลย ฆ่านายบุญมี นาระนาด ท้องที่ อ.เมือง จ.อุดรธานี ผู้ต้องหาทั้งสองคนได้ฉายาว่านักฆ่าสองฝั่งโขง รับเงินค่าจ้างศพละ 1 แสนบาท"

จากการสืบสวนทางลับพบว่า นายอาทิตย์เรียนจบชั้น ม.6 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.หนองคาย เมื่ออายุ 14 ปี ถูกจับกุมข้อหาฆ่าคนตายพร้อมเพื่อนคู่หู คือ นายสมบัติ หรือแด๊ก เพิ่มปัญญา ถูกส่งเข้าสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดหนองคาย 4 ปี และเมื่ออายุย่างเข้า 19 ปี ก็เข้าสู่วงจรมือปืนรับจ้าง

ย้อนเหตุการณ์ไปเมื่อปี 2543 พ.ท.สีสุก ไชยแสง หรือนายณรงค์ สุวรรณบุปผา วางแผนส่งกำลังพลติดอาวุธประมาณ 60 คน บุกเข้าไปก่อกวนรัฐบาลลาว ด้วยการเข้าบุกยึดด่านวังเตา เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก ที่ตั้งอยู่ติดกับด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี เช้ามืดวันที่ 3 กรกฎาคม แต่แผนการล้มเหลว ทำให้ผู้ร่วมขบวนการถูกสังหารทันที 6 ศพ อีก 29 ราย วิ่งผ่านประตูด่านเข้ามาประเทศไทย และถูกทางการไทยจับดำเนินคดี

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คดีสังหารแกนนำ ขตล.ก็เกิดขึ้นทุกปี ไม่เคยมีเว้นวรรค !!!

รายแรก ท้าวภูเวียง คนร้ายนั่งเรือหางยาวใช้ปืนอาก้าบุกเข้าไปสังหารในบ้านพัก ที่บ้านคันท่าแพ ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2544 ผ่านไป 1 เดือน ท้าวสง่าก็ถูกคนร้ายบุกยิงเสียชีวิต ที่บ้านเหล่าอินแปลง ต.ช่องเม็ก อ.สิรินธร และราวเดือนพฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืน 11 มม.ยิงท้าวทองเสียชีวิต ที่บ้านสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร

ปี 2545 คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงท้าวคำบอน ที่บ้านคำมันปลา อ.สิรินธร แต่ไม่เสียชีวิต หลังรักษาตัวจนหายดีก็หนีออกจากพื้นที่ และไม่ได้กลับมาอีกเลย

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2546 พ.ท.สีสุก ไชยแสง หัวหน้าขบวนการต่อต้านลาวถูกคนร้ายใช้อาวุธสงครามชนิดอาก้ายิงเสียชีวิตใน หมู่บ้านประชาสมบูรณ์ ต.นิคมลำโดมน้อย อ.สิรินธร

เดือนธันวาคม 2546 นายอุดร หรือน้อย มั่นคง พ่อค้าขายผลไม้ในตลาดสด อ.เขมราฐ ที่ดูแลการโอนเงินระหว่างประเทศข้ามฝั่งจากประเทศไทยไปที่เมืองละครเพ็ง แขวงสาละวัน ประเทศลาว ถูกอุ้มตัวข้ามฝั่งไปคุมขังในประเทศลาว และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

เดือนตุลาคม 2548 นายชูชาติ ฉิมฤทธิ์ หรือหลวงบริบูรณ์ อดีตนายทหารรัฐบาลลาวฝ่ายขวา ยศ "พ.อ." และเป็นนักเคลื่อนไหวกับ ร.อ.คำเผย สายกงจักร หลบเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและถูกคนร้ายใช้อาวุธปืน.38 ยิงเสียชีวิตในบ้านพัก ที่บ้านนาอุดม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ส่วน ร.อ.คำเผย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "นายสุพรรณ" ไม่ทราบนามสกุล

แกนนำ ขตล.รายล่าสุด คือ ร.อ.สุกัน ที่สู้รบกับรัฐบาลลาวมาตั้งแต่อายุ 14 ปี หลบเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก็ถูกฆ่าตายพร้อมนางจันทร ภรรยา ที่บ้านคำเปื่อย ต.คำเขื่อนแก้ว อ.สิรินธร

ส่วนผู้ต้องหาคดีบุกยึดด่านวังเตาที่เป็นคนลาว 16 คน ที่ถูกจับดำเนินคดีในประเทศลาว เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ศาลประชาชนแห่งแขวงจำปาสัก ตัดสินจำคุกท้าวสวง แสงสุระ นักโทษการเมืองที่ร่วมกันบุกยึดด่านวังเตาและพวกรวม 8 คน คนละ 12 ปี จำคุกท้าวคำ ไชยวงศ์ กับพวกรวม 6 คน คนละ 7 ปี และจำคุกท้าวแสง จำปา กับท้าวสม ไชยวงศ์ คนละ 2 ปี 6 เดือน

ปัจจุบันมีแกนนำ ขตล.ที่ยังเคลื่อนไหวเหลืออยู่เพียง ร.อ.คำเผย สายกงจักร เท่านั้น

คำรับสารภาพของผู้ต้องหาที่ได้ฉายาว่า "นักฆ่าสองฝั่งโขง" ในคดีฆ่าแกนนำ ขตล.รายล่าสุด เป็นเพียงคำให้การที่ตำรวจต้องหาพยานหลักฐานเพื่อประกอบสำนวนส่งฟ้องศาล แต่คำรับสารภาพของผู้ต้องหา 2 รายนี้ ก็ถูกปฏิเสธจากนายยง จันทะลังสี โฆษกกระทรวงต่างประเทศลาว ว่า ไม่เป็นความจริง เพราะลาวมีกองกำลังไว้เพื่อป้องกันประเทศ ไม่เคยเข้าแทรกแซงประเทศอื่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ลาวถือว่าเป็นเรื่องภายในของไทย แต่การจะกล่าวหาผู้ใดต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard