ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ຂໍ້ມູນເຂື່ອນ ໄຊຍະບູຣີຜິດພາດ
Anonymous

Date:
ຂໍ້ມູນເຂື່ອນ ໄຊຍະບູຣີຜິດພາດ
Permalink   
 


 

photo

Illegal Construction at Xayaburi Site

ຫົວໜ້າ ຫ້ອງການ ໂຄງການ ແມ່ນໍ້າ ສາກົນ ສາຂາ ເອເຊັຽ ຖແລງ ໃນວັນທີ 9 ພຶສຈິກາ ນີ້ວ່າ, ກ່ອນໜ້າ ກອງປະຊຸມ ລະດັບ ຣັຖມົນຕຣີ ໃນເດືອນ ທັນວາ ປີນີ້ ເພື່ອ ຕັດສີນ ລົງຄວາມເຫັນ ວ່າຈະ ອະນຸມັດ ໃຫ້ ສ້າງເຂື່ອນ ໄຊຍະບູຣີ ຫລືບໍ່ ນັ້ນ, ຣັຖບານ ລາວ ໄດ້ໃຊ້ ລາຍງານ ການ ປະເມີນຜົນ ກະທົບ ຕໍ່ ສິ່ງແລດລ້ອມ ຂອງ ບໍຣິສັດ ພລັງງານ Poyry Energy AG ຂອງ ປະເທດ ສວິຊແລັນ ເພື່ອຈະໄດ້ ຮັບການ ເຫັນດີ ຈາກ ປະເທດ ເພື່ອນບ້ານ ໃນການ ສ້າງເຂື່ອນ ກັ້ນ ແມ່ນໍ້າຂອງ ຕອນລຸ່ມ ແຫ່ງ ທໍາອິດ ໃນລາວ.

ລາຍງານ ແຈ້ງວ່າ ເຖິງແມ່ນວ່າ ຣັຖບານ ລາວ ຮັບຮູ້ ຄວາມ ບໍ່ແນ່ນອນ ໃນ ອັນຕຣາຍ ທີ່ ໂຄງການນີ້ ຈະມີຕໍ່ ປະຊາຊົນ ລາວ ແລະ ປະເທດ ເພື່ອນບ້ານ ກໍຕາມ, ລາຍງານ ຂອງ ບໍຣິສັດ Poyry ໄດ້ ແນະນໍາ ວ່າ ເຂື່ອນ ໄຊຍະບູຣີ ຄວນຖືກ ສ້າງຂື້ນ ພ້ອມທັງ ອ້າງ ແບບຜິດໆວ່າ ບັນຫາ ຕ່າງໆທີ່ ປະເທດ ເພື່ອນບ້ານ ເປັນຫ່ວງ ນັ້ນຖືກ ແກ້ໄຂ ແລ້ວ. ອົງການ ແມ່ນໍ້າ ສາກົນ ວ່າ ລາຍງານ ຂອງ ບໍຣິສັດ Poyry ແຍກການ ສືກສາ ທາງ ວິທຍາສາຕ ອອກ ແລະ ອີງຕໍ່ຜົນ ຂອງການ ຄົ້ນຄວ້າ ທີ່ກະຕວງ ເອົາ ອັນເປັນ ພື້ນຖານ ທີ່ບໍ່ ເໝາະສົມ ສໍາລັບ ການ ຕັດສີນໃຈ ອະນຸຍາດ ໃຫ້ສ້າງ ເຂື່ອນ ໄຊຍະບູຣີ. ຕາມຄໍາ ຖແລງ ຂອງ ທ່ານ Ame Tandem ຜູ້ອໍານວຍການ ໂຄງການ ແມ່ນໍ້າ ສາກົນ ເອເຊັຽ ຕະເວັນອອກ ສ່ຽງໃຕ້.

ທ່ານກ່າວ ຕໍໍ່ໄປວ່າ ບໍຣິສັດ Poyry ອ້າງວ່າ ໂຄງການນີ້ ສອດຄ່ອງ ກັບ ເງື່ອນໄຂ ຂອງ ກັມມາທິການ ແມ່ນໍ້າຂອງ MRC ເຖິງແມ່ນວ່າ ຍັງຕ້ອງການ ໃຫ້ສືກສາ ທາງ ວິທຍາສາດ ທີ່ ສໍາຄັນ ອີກ 40 ກວ່າ    ຣາຍການ ໃຫ້ ສໍາເຣັດ ກໍດີ. ທ່ານວ່າ ມັນເປັນການ ຂາດຄວາມ ຮັບຜິດຊອບ ສໍາລັບ ຣັຖບານລາວ ແລະ ປະເທດ ລຸ່ມ ແມ່ນໍ້າຂອງ ອື່ນໆ ທີ່ຈະ ສນັບສນູນ ໂຄງການ ສ້າງເຂື່ອນ ໄຊຍະບູຣີ ໂດຍອີງໃສ່ ລາຍງານ ທີ່ຜິດໆ.

ເມື່ອເດືອນ ພຶສພາ ຜ່ານມາ ຣັຖບານ ລາວ ໄດ້ຈ້າງ ບໍຣິສັດ Poyry ຈາກ ສວິຊແລັນ ເຂົ້າມາ ປະເມີນຜົນ, ຍອມເຮັດ ຕາມຄໍາ ແນະນໍາ ຂອງ MRC  ໃນໂຄງການ ນີ້, ຫຼັງຈາກ ທີ່ ກໍາພູຊາ ໄທ ແລະ ວຽດນາມ ໃຫ້ ຄໍາເຫັນ ຢູ່ ກອງປະຊຸມ MRC ເມື່ອ ເດືອນເມສາ ວ່າ ຜົນກະທົບ ຕໍ່ສິ່ງ ແວດລ້ອມ ໃນປະເທດ ເລົ່ານີ້ ຄວນໄດ້ ຮັບການ ສືກສາ ທາງ ວິທຍາສາດ ຕື່ມ ແລະ ປືກສາ ຫາລື ກັນຕື່ມອີກ.



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

photo

Xayaburi Dam Construction Sit



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

 
photo

Xayaburi Construction Site



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

แก่งหินขนาดใหญ่ในแม่น้ำโขงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
เป็นแหล่งหากินของชาวบ้าน และเป็นเขื่อนที่ธรรมชาติสร้างขึ้น

การล่องเรือสำรวจแม่น้ำโขงในประเทศลาวจากเมืองหลวงพระบางถึงจังหวัดไซยะ บุรี พบว่ามหานทีสายนี้ยังคงรุ่มรวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติเปรียบเสมือนเส้นเลือด ใหญ่ที่หล่อเลี้ยงสรรพชีวิต ทั้งเป็นแหล่งหลอมรวมวัฒนธรรมของคนลุ่มน้ำโขงอย่างไม่สามารถแยกออกจากกัน ได้  แต่หากการสร้างเขื่อนเสร็จสิ้นแม้เพียง ๑ แห่ง จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อแม่น้ำโขงและวิถีของทุกชีวิตที่พึ่งพิงลำน้ำสายนี้

คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ระบุว่าโครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนล่างจะมีขึ้น ๑๒ แห่ง เริ่มต้นจากเขื่อนปากแบงตั้งอยู่ในประเทศลาวทางตอนล่างของจังหวัดเชียงราย ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้โดยบริษัทของจีน  ถัดลงมาคือเขื่อนหลวงพระบางโดยบริษัทปิโตรเวียดนาม  จากนั้นคือเขื่อนไซยะบุรีซึ่งบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ประเทศไทย ได้ทำรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมส่งถึงรัฐบาลลาวเป็นที่เรียบร้อย แล้ว  ส่วนเขื่อนปากลายและเขื่อนสานะคามในเขตลาวกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาโดย บริษัทของจีน  ก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลเข้าสู่ประเทศไทยในเขตจังหวัดเลยซึ่งก็เป็นจุดที่จะมี การสร้างเขื่อนปากชมและเขื่อนบ้านกุ่มที่อำเภอโขงเจียม อุบลราชธานี ก่อนจะไหลเข้าสู่ลาวอีกครั้งโดยจะมีการสร้างเขื่อนอีก ๓ แห่ง คือ เขื่อนลาดเสือ ดอนสะฮอง และท่าโก  ส่วนอีก ๒ แห่งจะสร้างบริเวณที่ไหลผ่านประเทศกัมพูชา คือเขื่อนสตึงเตรงและเขื่อนซำบอ  หากเขื่อนทั้ง ๑๒ แห่งเกิดขึ้น เชื่อว่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขงราว ๒ ล้านคน รวมถึงระบบนิเวศและพันธุ์ปลาต่างๆ

 


อาชีพหลักของชาวบ้านลุ่มน้ำโขงคือการทำประมง


แหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำของชาวบ้านโดยเครื่องปั่นไฟขนาดเล็ก กำลังการผลิตขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง

เขื่อนไซยะบุรีเป็น ๑ ใน ๑๒ โครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนล่าง อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)ประเทศไทย  ความคืบหน้าของการดำเนินโครงการล่าสุดเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจด้านราคาไฟฟ้า (MOU) ระหว่างบริษัท ช.การช่าง กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยมี พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงานของไทย และ สมสวาด เลงสวัด รองนายกรัฐมนตรีลาว เป็นประธานในพิธี โดยกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้า ๒.๑๕๙ บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงตลอดระยะเวลาสัมปทาน

ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี ๑,๑๒๐ เมกะวัตต์ คาดว่าจะเริ่มจ่ายไฟฟ้าได้ในปี ๒๕๖๓ โดยมีสายส่งไฟฟ้าจากเขื่อนซึ่งอยู่ในแขวงไซยะบุรีสู่ชายแดนไทยที่จังหวัดเลย เป็นระยะทาง ๒๒๐ กิโลเมตร โดย ช.การช่างระบุว่าตอนนี้อยู่ในขั้นตอนระดมทุนและเตรียมการ  คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี ๒๕๕๕ ใช้เวลาก่อสร้าง ๘ ปี

สมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ผู้ประสานงานกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่าการลงนามรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวเท่ากับว่าไทยสนับสนุนให้มีการสร้าง เขื่อนในแม่น้ำโขง ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาชาวบ้านริมน้ำโขงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการก่อสร้าง เขื่อนในแม่น้ำโขงในประเทศจีน โดยเฉพาะระบบนิเวศและระดับน้ำที่ผันผวนทำให้เกิดน้ำท่วมและภัยแล้งผิด ธรรมชาติ  ผลกระทบที่รุนแรงที่สุดคือการปิดกั้นเส้นทางอพยพของปลา ซึ่งพันธุ์ปลาในแม่น้ำโขง ๑,๓๐๐ ชนิดส่วนใหญ่เป็นปลาอพยพที่จะว่ายขึ้นมาวางไข่ทางตอนบนของแม่น้ำโขง

“ก่อนลงนามตัดสินใจสร้างเขื่อนไซยะบุรีหรือเขื่อนใดๆ ในแม่น้ำโขง ควรมีการศึกษาข้อมูลที่รอบด้านและชัดเจน โดยเฉพาะผลกระทบต่อชุมชนริมน้ำ ๖๐ ล้านคนในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ๔ ประเทศ ควรมีการรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมอย่างแท้ จริง” สมเกียรติกล่าว

เขื่อนไซยะบุรีตั้งอยู่ในแม่น้ำโขงกิโลเมตรที่ ๑,๙๓๑ พื้นที่หัวงานของเขื่อนจะส่งผลกระทบต่อหมู่บ้านปากเนียม ผาแดง และแก่งหลวง  จากการสำรวจพบว่าบริเวณที่คาดว่าจะเป็นสันเขื่อนคือบริเวณแก่งหลวง ซึ่งเป็นแก่งหินขนาดใหญ่ วางตัวสลับซับซ้อน มีความยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร  แก่งหลวงเปรียบเสมือนเขื่อนขนาดใหญ่ที่ธรรมชาติสร้างขึ้น การสร้างเขื่อนไซยะบุรีจะต้องระเบิดแก่งน้อยใหญ่รวมทั้งแก่งหลวงนี้ด้วย

ผลกระทบต่อธรรมชาติและชาวบ้านตลอดลุ่มน้ำโขงหลังการสร้างเขื่อนไซยะบุรี คือ ด้านเหนือเขื่อนจะกลายเป็นอ่างเก็บน้ำความยาว ๙๐-๙๕ กิโลเมตร น้ำจะท่วมแก่ง ดอน และหาดทราย ซึ่งในฤดูแล้งชาวบ้านจะไม่สามารถปลูกพืชผักได้เลย รวมทั้งทำให้ความเร็วของกระแสน้ำลดลง ส่งผลให้เกิดตะกอนทับถมวังปลาและแก่งต่างๆ ทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถพักพิงและเพาะพันธุ์ในบริเวณดังกล่าวได้

จะเห็นได้ว่าการสร้างเขื่อนไซยะบุรีเป็นการลงทุนโดยบริษัทของประเทศไทย รับซื้อไฟฟ้าโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบคือประชาชนบริเวณลุ่มน้ำโขงทั้งหมด โดยเฉพาะชาวบ้านบริเวณหัวงานเขื่อนที่ต้องอพยพย้ายบ้านเรือนที่อยู่มากว่า ๑๐๐ ปี

อดีตผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดไซยะบุรีที่ได้รับผลกระทบ เล่า ว่า เขาได้ข้อมูลจากบริษัทฯ ที่ลงสำรวจพื้นที่ว่าพวกเขาต้องย้ายหมู่บ้านและปลูกกระท่อมอยู่ แต่ชาวบ้านต่างไม่เห็นด้วยและเสนอว่าหากพวกเขาต้องย้ายจริงๆ จะต้องมีการปลูกบ้านและขนย้ายสิ่งของให้ด้วยเพราะบ้านเรือนของชาวบ้านต่าง สร้างมาด้วยน้ำพักน้ำแรง อยู่มาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ  ท้ายที่สุดคำตอบที่ชาวบ้านได้รับคือจะได้บ้านและที่ทำกินใหม่แต่ยังไม่ระบุ พื้นที่ที่แน่นอน

อาชีพของชาวบ้านโดยส่วนใหญ่คือการหาปลา ปลูกไม้สัก และร่อนทองคำ  หากมีการสร้างเขื่อนชาวบ้านส่วนใหญ่จะกลายเป็นคนงานรับจ้าง ในเรื่องของการหาปลาก็จะมีกำหนดช่วงเวลาและบริเวณที่จับปลาได้ ซึ่งยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน  สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าวิถีการดำเนินชีวิตของพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงไป ทันทีที่การสร้างเขื่อนเริ่มต้นขึ้น

หมู่บ้านปากเฮา เมืองท่าเรือ จังหวัดไซยะบุรี เป็นอีกแห่งที่พึ่งพาตนเองโดยใช้น้ำจากแม่น้ำโขงผลิตไฟฟ้าใช้เองมากว่า ๑๐ ปี โดยใช้เครื่องปั่นไฟที่ประดิษฐ์ขึ้นเองอย่างง่ายๆ  กำลังการผลิตไฟฟ้าขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งหากสร้างเขื่อนสำเร็จปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงจะไม่คงที่อันจะส่งผลกระทบต่อ การผลิตไฟฟ้าของชาวบ้าน แต่ชาวบ้านกลับมีความหวังเมื่อทราบข่าวการสร้างเขื่อนไซยะบุรีเพื่อผลิต ไฟฟ้า โดยที่ไม่รู้เลยว่าเขื่อนดังกล่าวผลิตไฟฟ้าขายให้กับประเทศไทย

หากการสร้างเขื่อนสำเร็จแม้เพียง ๑ แห่งจะส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างไม่อาจเรียกคืนได้ ทั้งต่อวิถีชีวิต วิถีชุมชนคนลุ่มน้ำโขง รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศและพันธุ์ปลาแม่น้ำโขง หาญณรงค์ เยาวเลิศ อนุกรรมาธิการทรัพยากรน้ำ วุฒิสภา กล่าวว่า พื้นที่ตลอดลุ่มน้ำโขงมีทั้งเกาะแก่งและชุมชนที่อาศัยอยู่เกือบตลอดแนว มีพื้นที่ทำกินที่จำกัด การสร้างเขื่อนใดเขื่อนหนึ่งในแม่น้ำโขงย่อมกระทบต่อชุมชนอย่างแน่นอน รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของการเดินเรือทั้งการสัญจรและการประมง  ส่วนผลกระทบต่อประชาชนริมแม่น้ำโขงในประเทศไทยนั้นได้รับผลกระทบทางตรงอย่าง แน่นอน เพราะกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางเนื่องจากมีการปิด-เปิดประตูน้ำที่ไม่เป็นไปตาม ธรรมชาติ

“หากมีการสร้างเขื่อนครบทั้ง ๑๒ แห่ง ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่แต่ละแห่งจะสามารถตกลงกันได้เรื่องการปล่อยน้ำ ดังนั้นไม่สมควรมีการสังฆกรรมกันทำลายแม่น้ำโขงอีก” หาญณรงค์กล่าว



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

 

เขื่อนไซยะบุรี และกระบวนการรับฟังความคิดเห็น (ของประชาชนหรือของใคร?)

 

Khong River

เรื่อง / ภาพ : กรวิกา วีระพันธ์เทพา

ประชาชนริมแม่น้ำโขงในจังหวัดเลยและหนองคายยังคงอดทนกับสภาพอากาศที่แห้ง แล้ง การปลูกพืชเป็นไปอย่างยากลำบากเมื่อระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงอย่างน่าใจหาย แม่น้ำที่ได้ชื่อว่า “มหานที”หล่อเลี้ยงสรรพชีวิต กลายสภาพเป็นผืนดินที่มีน้ำหล่อปริ่มๆ เท่านั้น ทุกคนยังต้องทำมาหากินต่อไปแม้ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่แม่น้ำสายนี้จะกลายเป็น สภาพทางน้ำที่ถูกควบคุมโดยมนุษย์ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า “เขื่อน”

หนึ่งในโครงการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนล่าง ชื่อของ “เขื่อนไซยะบุรี”ดูจะเป็นที่รับรู้ของใครหลายคน เนื่องจากในบรรดา 12 เขื่อนที่ถูกผลักดันให้เกิดขึ้นบนแม่น้ำโขงสายหลัก เขื่อนไซยะบุรีมีความก้าวหน้ามากที่สุด เขื่อนนี้ถูกเสนอให้สร้างบริเวณแก่งหลวง ห่างจากตัวเมืองไซยะบุรีในตอนเหนือของลาวประมาณ 30 กิโลเมตร และห่างจากประเทศไทย 200 กิโลเมตร มีความยาวเขื่อน 810 เมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า 1,260 เมกะวัตต์

วัตถุประสงค์หลักของการสร้างเขื่อนไซยะบุรีคือการสร้างรายได้เพื่อการ พัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศลาว เนื่องจาก 95 เปอร์เซ็นต์ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขายให้กับประเทศไทย ขณะที่บริษัทผู้ก่อสร้างคือ บริษัท ช.การช่าง ของประเทศไทยซึ่งได้มีการเจรจาตกลงค่าธรรมเนียมกับการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (EGAT) ในเดือนกรฎาคม 2553

ประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งของการสร้างเขื่อนนี้ คือความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มนํ้าโขงอย่างยั่งยืน ปี 1995 ที่กําหนดให้มีระเบียบปฏิบัติเรื่องการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้าและข้อตกลง (PNPCA: Procedures for Notification, Prior Consultation and Agreement) ซึ่งกําหนดไว้ว่าประเทศสมาชิกจะต้องแจ้งต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงหรือเอ็ม อาร์ซี (MRC : Mekong River Commissions) ในกรณีที่ประเทศสมาชิกมีโครงการพัฒนาสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ใดๆ  บนแม่นํ้าโขงสายหลักหรือแม่นํ้าสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าโครงการดังกล่าวอาจจะสร้างผลกระทบข้ามเขตแดนต่อประชาชน หรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่ปลายนํ้า และนําเสนอข้อมูลให้ประเทศสมาชิกทั้ง 4 ประเทศร่วมกันพิจารณาในระดับภูมิภาคด้วย

โครงการไซยะบุรีถือเป็นการปฏิบัติครั้งแรกที่นําระเบียบการปฏิบัติของ เอ็มอาร์ซีไปใช้ในเรื่องของขั้นตอนการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้าและข้อตกลง เพื่อให้เกิดข้อสรุปร่วมกันว่าโครงการดังกล่าวควรจะดําเนินการต่อไปหรือไม่ ถ้าดําเนินการต่อจะกระทําภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง

ประเทศไทยได้ดำเนินการกระบวนการ PNPCA ไปแล้ว 3 ครั้งที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย อ.เชียงคาน จ.เลย และที่จ.นครพนม นี่เป็นกระบวนการที่สร้างความหวังให้กับชาวบ้านในพื้นที่หลายๆ คนที่หวังว่าตนเองจะมีสิทธิมีเสียง มีส่วนร่วมกับโครงการใหญ่ๆ ของรัฐอย่างแท้จริง แต่สภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น กลับไม่มีใครแน่ใจว่ากระบวนการนี้จะช่วยให้เสียงของเขาไปถึงผู้รับได้จริง หรือไม่

กัญจน์ วงศ์อาจ ตัว แทนชาวบ้าน อ.เชียงคาน จ.เลย เล่าว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้ข้อมูลอย่างละเอียดของโครงการเขื่อนไซยะบุรี ทั้งที่โครงการนี้อยู่ห่างจากเชียงคานไม่ถึง 200 กม. ตัวโครงการมีความก้าวหน้าไปเร็วมาก โดยที่ชาวบ้านในพื้นที่ไม่รู้ข้อมูลผลกระทบเลย

“การประชุมที่เอ็มอาร์ซีเขาเรียกว่าการปรึกษาหารือนั้น เขาตั้งรายชื่อมาอยู่แล้ว คณะกรรมการไม่ให้ทางจังหวัดซึ่งเป็นคนท้องถิ่นเชิญ แต่ส่งรายชื่อมาเองว่าจะเชิญคนนี้คนนั้น ไม่รู้ว่าในวงที่รับฟังความเห็นได้ผลมาว่าอย่างไรบ้าง แต่ที่แน่ๆ ถ้าไปถามชาวบ้าน ไม่มีใครต้องการเขื่อนหรอก เพราะแค่เขื่อนในจีนห่างไปตั้งเยอะ ยังทำให้แม่น้ำแห้งได้ขนาดนี้ แล้วนี่เป็นโครงการที่ใกล้ตัวมากกว่า จะต้องส่งผลแย่กว่านี้แน่นอน”ตัวแทนชาวบ้านกล่าว

และจากการลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นชาวบ้านที่ อ.ปากชม และ อ.เชียงคาน ต่อกรณีการสร้างเขื่อนไชยะบุรี สุรจิต ชิรเวทย์ สมาชิกวุฒิสภา จ.สมุทรสงคราม ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า ตามกระบวนการของสมาชิกคณะกรรมาธิการเอ็มอาร์ซี จะต้องนำเข้าพิจารณาในกระบวนการตัดสินใจระดับภูมิภาค หมายถึงชาวบ้านในพื้นที่จริงๆ แต่จากการติดตามตรวจสอบของคณะกรรมาธิการ เห็นว่ากระบวนการชี้แจงกับสมาชิกยังขาดความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูลผลกระทบข้ามพรมแดนจากการสร้างเขื่อนยังไม่เปิดเผยแพร่หลาย ทั้งที่ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในโครงการนี้

“จากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นโดยกรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะเลขานุการของเอ็มอาร์ซี ชัดเจนว่าชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อน เพราะเห็นว่าโครงการนี้ยังขาดข้อมูลรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการนี้ แต่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน ให้ข้อมูลเฉพาะด้านดีของเขื่อน ทำให้จนถึงขณะนี้จึงยังไม่สามารถสรุปจุดยืนของไทยไปยังเอ็มอาร์ซีได้”ส.ว.สุ รจิตแสดงความเห็นต่อกระบวนการ PNPCA

ด้าน หาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ กล่าวว่า การเปิดรับฟังความคิคเห็นของประเทศไทยทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมาเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนกับประชาชน เช่น ข้อมูลผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็ไม่ได้แปลเป็นภาษาไทยทั้งที่บริษัทที่ปรึกษาก็ เป็นบริษัทของคนไทย แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลให้ชาวบ้านรู้

หาญณรงค์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า กระบวนการ PNPCA ในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม สอดคล้องกับภาคประชาชนของไทยว่าไม่ต้องเขื่อนเพราะจะกระทบกับระบบนิเวศและ ความเป็นอยู่ของคนในลุ่มแม่น้ำโขงอย่างรุนแรง แต่สำหรับประเทศลาว ด้วยระบอบการปกครองทำให้ประชาชนไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นมากนัก ดังนั้นจึงเสนอว่า หากรัฐบาลเห็นความสำคัญของเสียงจากประชาชน ควรจะมีจุดยืนที่ชัดเจนและร่วมกับอีกสองประเทศที่คัดค้านโครงการ นำความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบไปให้บริษัทที่ปรึกษาปรับปรุง รายงานก่อนที่จะนำเสนอต่อเอ็มอาร์ซีไทยอีกครั้ง

จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่สร้างผลกระทบกับประชาชนเป็นบทเรียนว่า โครงการที่มีผลกระทบต่อประชาชน ต่อระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม จะต้องถูกทำให้เข้าสู่กระบวนการตามที่ควรจะเป็น เพราะเมื่อโครงการเดินหน้าแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตในวงกว้างอย่างไม่อาจเรียกคืนได้

การรับฟังความคิดเห็นคนในพื้นที่ถือเป็นกระบวนที่มีคุณค่าต่อการรักษาฐาน ทรัพยากรของประเทศอย่างมาก เขื่อนไซยะบุรีแห่งนี้จะเป็นต้นแบบของกระบวนการรับฟังความคิดเห็นให้เขื่อน อื่นๆ ในแม่น้ำโขง แต่จะเป็นหลักประกันให้ชาวบ้านในพื้นที่มั่นใจได้แค่ไหน ว่าเขามีสิทธิมีเสียงในพื้นที่ของเขาจริงๆ ... การทำงานของเอ็มอาร์ซีจะเป็นสิ่งพิสูจน์ความจริงใจและความรับผิดชอบของ เรื่องนี้

+++โครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนล่างจะมีขึ้น 12 แห่ง+++
-เขื่อนปากแบง, เขื่อนหลวงพระบาง, เขื่อนไซยะบุรี, เขื่อนปากลาย, เขื่อนสานะคาม, เขื่อนลาดเสือ, เขื่อนดอนสะฮอง และเขื่อนท่าโก ประเทศลาว
-เขื่อนปากชมและเขื่อนบ้านกุ่ม ประเทศไทย
-เขื่อนสตึงเตรงและเขื่อนซำบอ ประเทศกัมพูชา
หากเขื่อนทั้ง 12 แห่งเกิดขึ้น คาดว่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขงราว 2 ล้านคน รวมถึงระบบนิเวศและพันธุ์ปลาต่างๆ อีกนับไม่ถ้วน



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ຄນະກັມມາທິກາຣ ແມ່ນໍ້າຂອງ ຫລື MRC ກຳລັງ ສຶກສາ ທົບທວນ ຄືນໃໝ່ ໃນຣາຍງານ ຂອງ ບໍຣິສັທ Poyry ທີ່ໄດ້ຮັບ ກາຣວ່າຈ້າງ ຈາກ ທາງ ຣັຖບາລ ສປປລາວ ໃຫ້ດຳເນີນ ກາຣສຳຣວຈ ວິເຄາະ ດ້ານຜົລ ກະທົບ ຕໍ່ສິ່ງ ແວດລ້ອມ ຈາກ ກາຣສ້າງ ເຂື່ອນ ໄຟຟ້າ ໄຊຍະບູຣີ ແລະ ໄດ້ສົ່ງ ຂໍ້ມູລ ທຸກຢ່າງ ໄປຍັງ ຜູ້ຊ່ຽວຊານ ໃນ ຜແນກ ສາຂາຕ່າງໆ ເພື່ອ ຂໍຄຳເຫັນ ແລະ ສຣຸບ ຜົນຣາຍງານ ເພື່ອຈະນຳ ສເນີຕໍ່ ສາທາຣະນະຊົນ ໃນຂັ້ນຕໍ່ໄປ. ດັ່ງທ່ານ ສຸລະສັກ ກ້າຫາຣ ເຈົ້າໜ້າທີ່ ປະຊາສັມພັນ ຂອງ MRC ໄດ້ກ່າວວ່າ:

"ທາງ MRC ໄດ້ຮັບ ເອກກະສາຣ ແລະ ຂໍ້ມູລຕ່າງໆ ກ່ຽວກັບ ໂຄງກາຣ ເຂື່ອນ ໄຊຍະບູຣີ ແລ້ວ ແລະ ທາງ ຄນະ ຜູ້ຊ່ຽວຊານ ກໍກຳລັງ ສຶກສາ ທົບທວນ ເບີ່ງ ຕາມຣາຍງານ ແລະ ໃນເມື່ອໃດ ຫາກແລ້ວ ສຳເຣັຈ ກໍຈະນຳ ແຈ້ງຕໍ່ ທາງ ສາທາຣະນະຊົນ ນຳໃນໄວໆນີ້".

ພ້ອມດຽວກັນ ທ່ານກໍວ່າ ທາງ MRC ກໍຍັງ ບໍ່ທັນ ໄດ້ຮັບ ກາຣຢືນຢັນ ເຖິງທ່າທີໃດໆ ຈາກ ທາງຣັຖບາລ ລາວ, ສະນັ້ນ ຈຶ່ງຈະຕ້ອງ ໄດ້ລໍຖ້າ ຜົລຂອງກາຣ ພິຈາຣະນາ ຈາກ ກາຣປະຊຸມ ຂອງ ຄນະ ຣັຖມົນຕຣີ ຂອງ ແຕ່ລະ ປະເທສ ໃນເຂຕລຸ່ມ ແມ່ນ້ຳຂອງ ທີ່ມີກຳໜົດ ຈັດຂຶ້ນ ໃນມື້ວັນ ທີ 7-9 ທັນວາ 2011 ນີ້. ທ່ານ ສຸລະສັກ ໄດ້ໃຫ້ ກາຣຊີ້ແຈງ ເພີ່ມວ່າ:

"ຄາວມີກາຣ ປະຊຸມ ຂອງ ຄນະກັມມະກາຣ ຜູ້ ປະຕິບັຕງານ ຂອງ ທັງ 4 ປະເທສ ເຂຕລຸ່ມ ແມ່ນ້ຳຂອງ ໃນເດືອນ ເມສາ ຜ່ານມາ ກໍບໍໍ່ສາມາຕ ຕົກລົງ ກັນໄດ້ ເພາະສະນັ້ນ ຈຶ່ງຈະຕ້ອງ ໄດ້ລໍຖ້າ ກາຣຕົກລົງ ຂອງ ກອງປະຊຸມ ຄນະຣັຖມົນຕຣີ ໃນ ເດືອນໜ້າ ນີ້".

ກອງປະຊຸມ ຄນະຣັຖມົນຕຣີ 4 ປະເທສ ເຂຕລຸ່ມ ແມ່ນ້ຳຂອງ ຈະໄດ້ຈັດຂຶ້ນ ຢູ່ ເມືອງສຽບຣຽບ ກັມພູຊາ ໃນຕົ້ນເດືອນ ທັນວາ ນີ້ ແລະ ຄາດວ່າ ອາຈຈະມີ ຂໍ້ສຣຸບ ສຳລັບ ໂຄງກາຣ ກໍ່ສ້າງເຂື່ອນ ໄຟຟ້າ ໄຊຍະບູຣີ ທີ່ມີກາຣ ຕໍ່ຕ້ານ ຈາກ ຫລາຍປະເທສ  ຢູ່ຕລອດມາ.



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard