ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: Laos central bank shake-up reveals forex crisis, China dependence
Anonymous

Date:
Laos central bank shake-up reveals forex crisis, China dependence
Permalink   
 


Laos central bank shake-up reveals forex crisis, China dependence

https%3A%2F%2Fcms-image-bucket-production-ap-northeast-1-a7d2.s3.ap-northeast-1.amazonaws.com%2Fimages%2F_aliases%2Farticleimage%2F6%2F7%2F9%2F3%2F47963976-4-eng-GB%2Flaos-foreign-reserves+%281%29.png?source=nar-cms

Data from the Laotian Finance Ministry reveals the debt spiral that the impoverished, landlocked country bordering southern China has sunk into. The country's external public debt servicing costs ballooned to $950 million in 2023, from $507 million in 2022. Public and publicly guaranteed debt, which combines domestic and external debts, by 2023 had reached $13.8 billion, or 108% of gross domestic product. The total external debt that year was $10.5 billion, of which around 48%, or $5.09 billion, was owed to China.

Laos' foreign exchange reserves were estimated at $1.85 billion at the end of March this year. The government is struggling to increase its dollar reserves to stave off defaulting on its foreign loans. Government sources revealed the country must service annual debts of around $1.3 billion from 2024 through 2028. The government needs at least $10 billon to cover "debt-related expenses," said Santiphab.

https://asia.nikkei.com/Economy/Laos-central-bank-shake-up-reveals-forex-crisis-China-dependence

 

 



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ถอดวิกฤติ ‘ลาว’ หนี้ท่วม ทุนสำรองเหลือแค่ 1 เดือน ยกหุ้นโรงไฟฟ้าใช้หนี้ 'จีน'

LG-webp

 

ากข้อมูลของกระทรวงการคลังลาวนั้นเผยให้เห็น "วงจรหนี้ที่ไม่สิ้นสุด" (debt spiral) ที่ประเทศเพื่อนบ้านของจีนรายนี้กำลังดำดิ่งอยู่ โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นของหนี้ในปี 2566 ดังนี้

  • มีหนี้สาธารณะที่กู้ยืมมาจากต่างประเทศ (external public debt) พอกพูนขึ้นเกือบเท่าตัวเป็น 950 ล้านดอลลาร์ (ราว 3.44 หมื่นล้านบาท) จาก 507 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.83 หมื่นล้านบาท) ในปี 2565   
  • มีหนี้สาธารณะ และหนี้ที่ค้ำประกันโดยภาครัฐ (Public and Publicly Guaranteed) ทั้งที่กู้ยืมในประเทศ และนอกประเทศ 1.38 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 5 แสนล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 108% ของจีดีพีประเทศ
  • มีหนี้ต่างประเทศรวมทั้งหมดเป็น 1.05 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 3.80 แสนล้านบาท) ในจำนวนนี้เป็นหนี้ที่กู้ยืมมาจาก "จีน" ถึง 5.09 พันล้านดอลลาร์ (ราว 1.85 แสนล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 48% 

ในทางกลับกัน "ทุนสำรองระหว่างประเทศ" ของลาว ณ สิ้นเดือนมี.ค. ปีนี้ อยู่ที่ประมาณ 1,850 ล้านดอลลาร์ (ราว 6.7 หมื่นล้านบาท) เท่านั้น และรัฐบาลเวียงจันทน์ก็กำลังดิ้นรนที่จะเพิ่มเงินสำรองสกุลดอลลาร์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ

แหล่งข่าวในรัฐบาลลาวเปิดเผยว่า ประเทศมีภาระหนี้ที่ต้องชำระต่อปีประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ (ราว 4.7 หมื่นล้านบาท) ตั้งแต่ปี 2567 ถึงปี 2571 ขณะที่ รมว.คลังของลาว เคยเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาลต้องการเงินอย่างน้อย 1 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 3.62 แสนล้านบาท) เพื่อให้ครอบคลุม "ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ ที่เกี่ยวข้องกับหนี้" 

ขณะเดียวกัน มูลค่าของ "เงินกีบ" ที่ดิ่งลงอย่างหนักยิ่งเพิ่มความบอบช้ำทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน เนื่องจากเศรษฐกิจของลาวพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศอย่างหนัก เงินดอลลาร์กลายเป็นที่ต้องการไม่เพียงแต่เพื่อใช้ชำระหนี้ต่างประเทศเท่านั้น แต่ยังใช้ชำระค่าใช้จ่ายสำหรับการบริโภค และการลงทุนในประเทศด้วย โดยปัจจุบันมีการซื้อขายกันอยู่ที่ประมาณ 21,500 กีบต่อดอลลาร์ หรือต้องใช้เงินกีบไปแลกเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวกว่าจะได้ 1 ดอลลาร์ จากเดิมที่เคยแลกได้ที่ 11,500 กีบต่อดอลลาร์ในปี 2565 ซึ่งสะท้อนถึงการอ่อนค่าของเงินกีบอย่างรุนแรง

ทว่านั่นก็ไม่ได้หยุดยั้งแผนการของรัฐบาลในการเพิ่มทุนสำรองเงินดอลลาร์ 

"ปีที่แล้ว ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในลาวได้รับคำสั่งให้อัดฉีดเงินกองทุนสกุลต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มเงินกองทุนในรูปดอลลาร์เป็นสองเท่าในงบ" 

"ผู้ส่งออกในลาวอยู่ภายใต้แรงกดดันให้ต้องฝากเงินรายได้ในรูปดอลลาร์ไว้ในธนาคารพาณิชย์ท้องถิ่น" สถิตย์ แถลงสัตย์ นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวกับนิกเคอิเอเชีย  

หันพึ่ง 'จีน' เจ้าหนี้เบอร์ 1 - ยกหุ้นโรงไฟฟ้าแลกยกหนี้

อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งกลับมองทางออกอีกทางหนึ่งว่า ลาวอาจจะกลับไปสู่เส้นทางเดิมๆ ในการแก้ปัญหาหนี้

เอมมา อัลเลน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศลาว ของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ระบุว่า ถ้าแหล่งทุนที่ไม่ใช่การก่อหนี้ไม่เพียงพอ ลาวก็อาจกลับไปใช้วิธีเดิมๆ คือ การก่อหนี้ใหม่มาโปะหนี้เก่า พร้อมให้คำแนะนำว่ารัฐบาลลาวจำเป็นต้องจัดการปัญหาด้านเศรษฐกิจมหภาคเพื่อช่วยในการปรับปรุงอันดับเครดิตประเทศ ลาวจึงจะสามารถเข้าถึงตลาดด้วยต้นทุนที่ถูกลงได้  

อีกวิธีหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้เช่นกันก็คือ การยอมเจรจากับ "จีน" ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดอันดับ 1 ของลาวในขณะนี้ 

โทชิโระ นิชิซาวะ นักวิชาการจากญี่ปุ่น และผู้เชี่ยวชาญพิเศษเกี่ยวกับลาว กล่าวว่า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของจีนเลื่อนการชำระหนี้ให้ลาวมาตั้งแต่ปี 2563 และลาวยังมีการทำข้อตกลงสวอปกับธนาคารกลางจีน (PBOC) เพื่อช่วยเพิ่มทุนสำรองต่างประเทศจากที่มีอยู่เดิมประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์ก่อนปี 2563 ไปเป็น 1.9 พันล้านดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนมี.ค.2567 

ขณะที่รายงานของธนาคารโลก (World Bank) ในเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา ประเมินว่า "ทุนสำรองต่างประเทศสุทธิของลาวซึ่งไม่รวมข้อตกลงสวอป" จะเพียงพอรองรับการนำเข้าสินค้า และบริการจากต่างประเทศได้เพียง "1 เดือน" เท่านั้น  

"วิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้เพียงอย่างเดียวในระยะสั้นก็คือ การรักษาทุนสำรองต่างประเทศเอาไว้ ไม่ให้รั่วไหลออกไปทางเจ้าหนี้จีน โดยการขอเลื่อนการชำระหนี้ และทำข้อตกลงสวอปต่อเนื่องอีก" นิชิซาวะซึ่งเป็นอดีตที่ปรึกษาด้านนโยบายของรัฐบาลลาว กล่าวและระบุด้วยว่า นี่คือวิธีของลาวในการจัดการ และเอาตัวรอดจากหนี้ต่างประเทศให้ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 นี้ 

จากข้อมูลเชิงสถิติของรัฐบาลลาวพบว่าในปี 2567 นี้ ลาวได้ขอเลื่อนการชำระหนี้ไปแล้ว 670 ล้านดอลลาร์ รวมสะสมเป็น 1,200 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา 

ส่วนการดำเนินข้อตกลงสวอปนั้น จากรายงานของสื่อต่างๆ ก่อนหน้านี้พบว่ามีตั้งแต่ข้อตกลงแปลงหนี้เป็นทุน (debt-for-equity swap) หรือการยกหนี้บางส่วนให้โดยแลกกับการเพิ่มสัดส่วนการเป็นเจ้าของในกิจการของรัฐบาลลาว เช่น โรงไฟฟ้า อีกส่วนหนึ่งคือ ข้อตกลงสวอปค่าเงินระหว่างแบงก์ชาติ เช่น ข้อตกลงสวอปค่าเงินหยวน-กีบ เพื่อช่วยเหลือลาวในช่วงการระบาดของโควิดที่ผ่านมา

นิกเคอิเอเชียระบุว่า รัฐบาลลาวเคยเสนอการแปลงหนี้เป็นทุนแลกกับการถือหุ้นเพิ่มในบริษัทโรงไฟฟ้าของลาว รวมถึงแลกกับที่ดินที่จะสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษในกรุงเวียงจันทน์ด้วย 

แหล่งข่าวนักวิเคราะห์การเมืองรายหนึ่งเปิดเผยว่า การแปลงหนี้เป็นทุนกับบริษัทจีน ถือเป็นประเด็นอ่อนไหวทางการเมือง และรัฐบาลลาวก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องคอร์รัปชัน และการบริหารจัดการเศรษฐกิจที่ผิดพลาดอยู่แล้ว เรื่องนี้จึงมีแต่จะยิ่งเพิ่มความโกรธแค้นต่อรัฐบาลมากขึ้น 

https://www.bangkokbiznews.com/world/1135975

 

 



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard